Friday, October 30, 2015

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วงปี 2558-2573

ในยุคของโลกาภิวัตน์ (Globalization Era) มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลไกการตลาดเพื่อการติดต่อสื่อสารและการค้าเกิดขึ้นมากมายและรวดเร็วกว่าอดีต ส่งผล ให้เกิดการเติบโต ด้านการผลิต การบริโภคที่เป็นผลเสียต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณต่างๆขึ้นตามมา ประชาคมโลกได้มองเห็นปรากฏการณ์ต่างๆร่วมกันและมีความเห็นร่วมกันส่วนหนึ่งว่า หากมนุษย์เรายังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าโดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา ซึ่งหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาวะการณ์จริงที่เป็นไป ความสามารถที่จะรองรับการบริโภค และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆในโลก เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภคและใช้ประโยชน์หมดลงไป อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกก็จะต้องจบสิ้นไปพร้อมกัน แนวคิดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบโดยเร็วหรือจะเป็นภาวะการณ์ที่คนรุ่นหลังจะต้องประสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  Sustainable Development Goals (SDGs) จึงเป็นเป้าหมายใหม่ที่เป็นแนวคิดร่วมออกมาเป็นประเด็นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนรวม 17 ด้าน ที่ทางสหประชาชาติได้ประกาศออกมาให้ทราบ เป็นเป้าหมายร่วมกันการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างช่วงปี 2558-2573 เพื่อเกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในประชาคมโลก เพื่อการพัฒนาความยั่งยืนของโลก หลังจากที่ได้ร่วมทดลองทำกันมาแล้วในระยะ 15 ปีที่ผ่านมานั่นคือ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ หรือ Millennium Development Goals (MDGs) อันประกอบด้วย 8 เป้าหมายหลัก คือ 1. ขจัดความยากจนและความหิวโหย 2. ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา 3. ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี 4. ลดอัตราการตายของเด็ก 5. พัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ 6. ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ 7. รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ 8. ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือกันด้วยดีจากประชาคมโลกหลากหลายประเทศ
 สำหรับรายละเอียดเป้าหมายใหม่เพื่อการพัฒนาความยั่งยืน 17 ด้าน ที่จะเริ่มใช้ในปี 2558 นี้ก็ได้แก่

1. No Poverty : การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่
2. No Hunger : การขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน

3.Good Health ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ

4.Quality Education :  ทำให้แน่ใจถึงการได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

5.Gender Equality : บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน
6. ทำให้แน่ใจว่าเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน

7. Clean Water and Sanirtation : ทำให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน เชื่อถือได้ ตามกำลังซื้อของตน

8. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำและการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

9. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม

10. ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ

11. ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน

12. ทำให้แน่ใจถึงการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
13. ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

14. อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน

15. พิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

16. ส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวม มีประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ

17. เสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
1.http://www.manpattanalibrary.com/newsdetail.php?id=48
2.https://sustainabledevelopment.un.org/topics

Thursday, October 29, 2015

What is Sustainability Jam ? การมีส่วนร่วมในการสร้างความยั่งยืนแก่โลก

What is Sustainability Jam ? การมีส่วนร่วมในการสร้างความยั่งยืนแก่โลก คืออะไร
ความยั่งยืน (Sustainability)
ศัพท์คำว่า Sustainability นี้จัดว่าเป็นคำนาม ที่สามารถแปลได้ตรงตัวเป็นความเข้าใจพื้นฐานร่วมกันได้ว่า เป็นคุณลักษณะหรือกิจกรรมเพื่อการเป็นอยู่อย่างยั่งยืน (Property or capable to being Sustain) ความยั่งยืนนี้ได้รับการกล่าวถึงมากในปัจจุบัน คำศัพท์คำนี้เริ่มเป็นคำสำคัญที่เริ่มเข้าไปเป็นแนวคิดตั้งต้นให้กับทุกกลุ่มสังคมมนุษย์ นับแต่เริ่มมองเห็นปัญหาและการขาดแคลนในสิ่งที่ต้องการจำเป็นในระยะยาว เช่นเริ่มมองภาพการพัฒนาประเทศในระยะยาว การสร้างสถาบันหรือองค์กรทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้มีการเจริญเติบโตต่อเนื่อง อยู่กันไปได้อย่างยาวนานจะต้องร่วมมือกัน ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมกันอย่างไรบ้าง และจากการที่โลกกำลังประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมในทุกๆด้าน   ทำให้เกิดการประชุมสิ่งแวดล้อมโลกเมื่อ พ.ศ. 2535 ที่นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล โดยได้เริ่มมีการวางแผนและกำหนดโครงการต่างๆ ของโลกในศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้เอาไว้แล้วอย่างจริงจังพร้อมกัน หรือมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของพลเมืองโลก เช่นการร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สัตว์ป่า พันธุ์พืชและทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ขึ้นมามากมาย เป็นต้น

A Sustainability Jam is a cooperative gathering of people interested in a design-based approach to creativity and problem solving, and of course in sustainability issues. It is there to encourage experimentation and innovation – participants come together without a team, without an idea and are given a subject or theme to incorporate in their new-to-the-world design while meeting new people.

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการชุมนุมและการรวบรวมความร่วมมือกันของผู้ที่สนใจในแนวทางการออกแบบที่ใช้ในความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาร่วมกัน ในประเด็นของความยั่งยืนที่ปรากฏ เป็นกิจกรรมที่มีการส่งเสริม กระตุ้นคิดให้เกิดมีการทดลองและการคิดการใช้นวัตกรรมใหม่ - โดยที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต้องมาเป็นทีม โดยไม่ต้องเตรียมความคิดหรือโครงการใดๆมาล่วงหน้า แต่จะได้รับเนื้อหาหรือรูปแบบโครงการใหม่ที่เกิดจากการร่วมความคิดในการออกแบบสิ่งใหม่เพื่อโลก ของพวกเขา ในขณะเวลาที่ได้ร่วมการประชุมกับผู้คนกลุ่มใหม่นี้ด้วยกัน

The Global Sustainability Jam is a community of Jams taking place internationally over the same weekend. All the Jams share the same starting themes, and publish their local results over a central platform. The theme and constraints for participants in the Global Sustainability Jam will be announced at 5:00PM (local time) on the Friday, and results must be shared by 3:00pm (local time) on the Sunday.

การมีส่วนร่วมในการสร้างความยั่งยืนทั่วโลก เป็นการชุมนุมระดับนานาชาติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสุดสัปดาห์เดียวกัน เป็นกิจกรรมที่มีรูปแบบโครงงานเริ่มต้นคล้ายกัน มีการแบ่งปันผลงานหรือกิจกรรมของแต่ละท้องถิ่นหรือแต่ละประเทศที่ได้แสดงออกไปในทิศทางเดียวกันนี้ ไว้ในที่เดียวกันหรือเก็บไว้ในระบบเผยแพร่เป็นเวทีกลางให้ทั่วโลกได้ร่วมรับรู้  ซึ่งรูปแบบโครงงานหรือข้อกำหนด สำหรับให้ผู้เข้าร่วมงาน ในการสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนแก่โลก ได้ทราบนั้นจะมีการประกาศพร้อมกันในเวลา 17:00 น.(เวลาท้องถิ่น)ของวันศุกร์ และผลงานที่ได้ร่วมกันคิดร่วมกันสร้างจนแล้วเสร็จนั้น จะต้องแบ่งปันหรือส่งแสดงไว้ในระบบออนไลน์ให้ชาวโลกได้ร่วมรับรู้ ได้ใช้ร่วมกันโดยภายในเวลาบ่ายสามโมง 03:00 (เวลาท้องถิ่น) ใของวันอาทิตย์ ของช่วงวันที่ประกาศหรือวันนัดทำงานสร้างความยั่งยืนแก่โลก ซึ่งปีนี้ทาง TCDC ได้กำหนดจัดที่กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม- วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 


กิจกรรมของแต่ละกลุ่มในท้องถิ่น มีอิสระในการจัดโครงสร้างและการบริหารจัดการงานที่จะสร้างสรรค์เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในท้องถิ่นและความต้องการของตน (เช่นคุณสามารถสร้างสรรค์ตราเครื่องหมายสัญลักษณ์หรือโลโก้กันเอง) โดยมีกฎระเบียบเพียงไม่กี่อย่างที่วางไว้สำหรับการจัดงานและผู้เข้าร่วมงาน ลองอ่านต่อดูนะครับ

Each local group has freedom to structure and manage the Jam to fit their local situation and needs (eg you can make your own version of the logo. A few rules are in place for Organisers and Participants; if you want your Jam to be part of the Global event, you will need to follow these. Besides these rules, we hope that local teams will follow many of our recommendations so that we share a common experience and everyone can work on a level playing field.

Basic rules for participants
Collaborate with new people
Please do not come to the Jam with a team. Everyone will have some time to think and pitch an idea. Collaborate with new friends or peers you admire.
Be on time

Please show up to the Jam on time.
Use your own tools

Participants will use their own tools, including hardware, software, communications and stationery. If you need a computer and certain software, make sure you have it pre-loaded on your computer.
Sign up: individual and team

All participants need to sign up to the Planet Jam website and add themselves, their team and their project to the project database.
(Optional) Be part of the conversation

Experience shows that one of the most valuable parts of the Jam is to be part of the online community. For the global communication amongst participants we use Twitter, among other platforms. Please add #GSusJ11 to your tweets.

Rules on intellectual property
All results are owned by the individual design team

All services, ideas, art, code and concepts made during the Global Sustainability Jam are owned by the members of the team that developed them (not the local Jam or the Global organizers). This includes all aspects of intellectual property, such as patents, trademarks, designs and copyright. In the cooperative spirit of a service jam, there are often many people helping one another. All members of the team are held to standard industry practices of collaboration, including appropriate acknowledgements to parties (also in other teams) who may have contributed. The design team is free to develop their ideas commercially after the Jam, but the results of the Jam itself must be open, as below.
All results have to be published and archived on the Global Sustainability Jam website under Creative Commons licence
All participants of the Global Sustainability Jam will allow the documentation of their service to be archived on the Global Sustainability Jam website in the form it was submitted at the end of the jam. Participants may ask to have an update of the documents posted with notice of version information. 
All works will be licenced under Creative Commons Attribution-Noncommercial-Share Alike 3.0 (http://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/3.0/).
The Global Sustainability Jam prohibits the use of pre-made content (this includes graphic designs, processes, models, audio, program code, etc.) unless it was publicly available at least a month prior to the service jam. Please also make sure that if you use pre-made content, you use content with a appropriate licence (CC or public licence).
All materials can be used for demonstration - all materials made at the Global Sustainability Jam can be used for demonstration and lecture at conferences, schools or industry venues with the expressed discretion of the Global Sustainability Jam and Work Play Experience.

Cited from http://planet.globalsustainabilityjam.org/content/rules-participants-gsusj12