Friday, October 30, 2015

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วงปี 2558-2573

ในยุคของโลกาภิวัตน์ (Globalization Era) มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลไกการตลาดเพื่อการติดต่อสื่อสารและการค้าเกิดขึ้นมากมายและรวดเร็วกว่าอดีต ส่งผล ให้เกิดการเติบโต ด้านการผลิต การบริโภคที่เป็นผลเสียต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณต่างๆขึ้นตามมา ประชาคมโลกได้มองเห็นปรากฏการณ์ต่างๆร่วมกันและมีความเห็นร่วมกันส่วนหนึ่งว่า หากมนุษย์เรายังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าโดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา ซึ่งหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาวะการณ์จริงที่เป็นไป ความสามารถที่จะรองรับการบริโภค และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆในโลก เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภคและใช้ประโยชน์หมดลงไป อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกก็จะต้องจบสิ้นไปพร้อมกัน แนวคิดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบโดยเร็วหรือจะเป็นภาวะการณ์ที่คนรุ่นหลังจะต้องประสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  Sustainable Development Goals (SDGs) จึงเป็นเป้าหมายใหม่ที่เป็นแนวคิดร่วมออกมาเป็นประเด็นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนรวม 17 ด้าน ที่ทางสหประชาชาติได้ประกาศออกมาให้ทราบ เป็นเป้าหมายร่วมกันการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างช่วงปี 2558-2573 เพื่อเกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในประชาคมโลก เพื่อการพัฒนาความยั่งยืนของโลก หลังจากที่ได้ร่วมทดลองทำกันมาแล้วในระยะ 15 ปีที่ผ่านมานั่นคือ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ หรือ Millennium Development Goals (MDGs) อันประกอบด้วย 8 เป้าหมายหลัก คือ 1. ขจัดความยากจนและความหิวโหย 2. ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา 3. ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี 4. ลดอัตราการตายของเด็ก 5. พัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ 6. ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ 7. รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ 8. ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือกันด้วยดีจากประชาคมโลกหลากหลายประเทศ
 สำหรับรายละเอียดเป้าหมายใหม่เพื่อการพัฒนาความยั่งยืน 17 ด้าน ที่จะเริ่มใช้ในปี 2558 นี้ก็ได้แก่

1. No Poverty : การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่
2. No Hunger : การขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน

3.Good Health ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ

4.Quality Education :  ทำให้แน่ใจถึงการได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

5.Gender Equality : บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน
6. ทำให้แน่ใจว่าเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน

7. Clean Water and Sanirtation : ทำให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน เชื่อถือได้ ตามกำลังซื้อของตน

8. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำและการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

9. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม

10. ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ

11. ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน

12. ทำให้แน่ใจถึงการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
13. ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

14. อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน

15. พิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

16. ส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวม มีประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ

17. เสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
1.http://www.manpattanalibrary.com/newsdetail.php?id=48
2.https://sustainabledevelopment.un.org/topics

No comments:

Post a Comment